รฟม. ตอบข้อกังวล น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน มั่นใจไม่ซ้ำรอยเกาหลีใต้

รฟม. ตอบข้อกังวล น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน มั่นใจไม่ซ้ำรอยเกาหลีใต้

รฟม. ตอบข้อกังวล น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน หลังเกิดเหตุน้ำท่วมเกาหลีใต้และปรากฎภาพ น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน ยืนยันไม่ซ้ำรอยแน่นอน จากกรณีกระแสข่าวน้ำท่วมเกาหลีใต้ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 8 สิงหาคม และมีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 8 ศพ โดยจากเหตุน้ำท่วมเกาหลีใต้นั้นปรากฎภาพ น้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดิน ทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันในประเทศไทยหรือไม่นั้น

ล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 

ชี้แจงถึงข้อกังวลน้ำท่วมสถานีรถไฟใต้ดินว่า โครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. ที่ก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นั้น โดยสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่ทางใต้ของกรุงโซล ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา จึงประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน อย่างไรก็ตาม รฟม.ได้คำนึงถึงการป้องกันปัญหาน้ำท่วมฉับพลันไว้ตั้งแต่การออกแบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ทางขึ้น – ลงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ถูกออกแบบให้มีความสูงมากกว่าค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดจากสถิติในรอบ 200 ปี นอกจากนี้ ยังจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม โดยมีความสูงเพิ่มเติมอีก 1.00 เมตร (Flood Protection Board) ซึ่งจะสูงราว 2.50 เมตร จากค่าระดับถนนเฉลี่ยในกรุงเทพฯ ที่พร้อมติดตั้งได้ตลอดเวลา

2. เมื่อติดตั้งแผ่นป้องกันน้ำท่วมดังกล่าวแล้ว โอกาสที่น้ำจะรั่วเข้าสถานีมีน้อยมาก และ รฟม. ยังได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำบริเวณทางขึ้น-ลง ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินอีกขั้นหนึ่ง พร้อมทั้งได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุโมงค์ สถานี และผนังสถานี ในช่วงน้ำหลากทุกวัน

จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2554 ที่ รฟม. ได้ใช้ประโยชน์จากการออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมดังกล่าว ทำให้โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ไม่ได้รับผลกระทบ และยังสามารถให้บริการประชาชนได้ตามปกติ

รฟม. ขอยืนยันว่า การออกแบบโครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับการของ รฟม. เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานสากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว

‘หมอดื้อ’ โพสต์ 10 ข้อ ทำความเข้าใจฝีดาษลิง ชี้ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป

หมอดื้อ โพสต์ ทำความเข้าใจฝีดาษลิง 10 ข้อ ชี้ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป ย่้ำไม่ใช่คิดแต่วัคซีนหรือยากรักษา ต้องทำให้ประชาชนเข้าใจก่อน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าด้วยเรื่องฝีดาษ พร้อมเขียน 10 ข้อทำความเข้าใจฝีดาษลิง

หมอดื้อ ระบุว่า “1- ยอมรับว่าเป็นโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์

2-ไม่ได้จำกัดอยู่ที่กลุ่มรักเพศเดียวกันหรือรักสองเพศ เป็นได้ระหว่างชายกับหญิงธรรมดาก็ได้

3-คนที่มีความเสี่ยงหรือที่อาจจะเป็น จะอึดอัดที่จะบอกความจริงเกี่ยวกับพฤติกรรม (เพราะอาจไปเถลไถลที่อื่น)

4-ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจมีเพียงแผลตุ่ม แต่ยังสบายดี หรือกลับกันคือรู้สึกไม่สบายแต่ยังไม่มีแผลตุ่ม

5-ทันทีที่เกิดความผิดปกติดังข้อสี่ เชื้อสามารถแพร่ได้ทางละอองฝอยน้ำลาย สิ่งคัดหลั่งจากแผลตุ่ม และ”อาจเป็นไปได้” จากน้ำอสุจิ ช่องคลอดและทวารหนัก

6- การสืบสวน สอบสวน ที่หมอต้องแจ้งทางการก่อน สอบ ชื่อที่อยู่ครอบครัว รสนิยมทางเพศ ถ่ายรูปตุ่มส่งให้ทางการไปดูก่อนว่า เหมือนหรือไม่ (ซึ่งไม่มีทางบอกได้) ก่อนที่จะลงมือทำการสืบสวนและตรวจ จะหลุดโอกาสที่จะรู้เร็ว ป้องกันเร็ว รักษาเร็ว ระงับการระบาด

7-ช่องทางที่ให้คำปรึกษาในประเทศไทยมีอยู่แพร่หลาย คลินิกเอชไอวี คลีนิคเพศสัมพันธ์คลินิกทั่วไปทางเวชกรรม สงสัยส่งตรวจ

8-ง่ายนิดเดียว แยงจมูกและลำคอแบบโควิด ใส่หลอด UTM VTM แม้กระทั่งเก็บน้ำลายสด รู้ภายใน 24 ชั่วโมง

9- มีการตรวจพีซีอาร์ ทั่วไปแล้ว รวมทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬา ซึ่งทำการตรวจได้มาเกือบ 10 ปีแล้ว เพราะอยู่ในตระกูลฝีดาษซึ่งเป็นโรคที่ต้องจับตา

10- ถ้าได้ผลบวก บอกคนติดทันที คนที่ติดไปแล้วต้องบอกคนที่สัมผัสมีสัมพันธ์ด้วย และคนที่อยู่อาศัยใกล้ชิดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่นอน พร้อมกันนั้นบอกประสานทางการให้การช่วยเหลือ

ฝีดาษลิงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปไม่ใช่คิดแต่วัคซีนหรือยารักษาต้องทำให้เป็นเรื่องปกติเข้าถึงได้รักษาความลับ เร่งกระบวนการให้เร็วสุด”

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป